การเลือก วัสดุมุงหลังคานอกจากจะให้ความสำคัญของดีไซน์ และรูปลักษณ์สวยงามภายนอกแล้ว ต้องคำนึงถึงความทนทาน ความแข็งแรง รวมถึงการวัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ดีด้วย เพื่อป้องกันในช่วงอากาศร้อนอบอ้าว หรือฝนตกหนัก ก็จะสามารถช่วยให้บ้านมีความสงบ ไม่รบกวนเวลาพักผ่อนของคุณได้

สำหรับวันนี้ KACHA ก็มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากกัน จะพาไปรู้จักกับ วัสดุมุงหลังคา ว่าแต่ละแบบใช้งานแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี – ข้อเสียมากแค่ไหน รวมถึงการเลือกตกแต่งให้ถูกกับบ้านแต่ละสไตล์ ตามไปดูกัน

วัสดุมุงหลังคา ที่เรารู้จักแตกต่างกันอย่างไร?

  • กระเบื้องหลังคาคอนกรีต

กระเบื้องหลังคาคอนกรีต มีจุดเด่นในเรื่องของเนื้อวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน มีปัญหารั่วซึมน้อย แต่หลังคาคอนกรีต มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จึงจำเป็นต้องใช้โครงสร้างหลังคาที่แข็งแรงเช่นกัน

ในเรื่องของความสวยงาม กระเบื้องหลังคาคอนกรีต เหมาะกับบ้านแบบไทย เช่น บ้านสไตล์คอนเทมโพรารี หรือบ้านสไตล์ไทยยุกต์ เป็นต้น

210810-Content-วัสดุมุงหลังคาเลือกแบบไหนให้เหมาะสม-02
  • กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์

กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือกระเบื้องลอนคู่ ถึงแม้จะเป็นวัสดุที่ดูเบาบางกว่ากระเบื้องมุงหลังคารูปแบบอื่น แต่ในความจริงแล้ว มีความแข็งแรง และทนทานสูง ป้องกันความร้อนได้ดี มีราคาประหยัด อีกทั้งยังแต่งบ้านได้หลากหลายสไตล์ด้วย

  • กระเบื้องหลังคาเซรามิก

กระเบื้องหลังคาเซรามิก เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ได้รับความนิยมมาก โดดเด่นด้วยเนื้อผิวเรียบเนียน ถูกเคลือบให้มีความมันเงาช่วยในการชะลอการซีดจาง และช่วยให้น้ำฝนชะล้างคราบสกปรกได้ง่าย ป้องกันความร้อนได้สูงกว่ากระเบื้องชนิดอื่น เหมาะแก่การมุงหลังคาบ้านทรงปั้นหยา และบ้านสไตล์ร่วมสมัยทั่วไป

  • กระเบื้องหลังคาดินเผา

กระเบื้องหลังคาดินเผา เหมาะกับบ้านสไตล์ย้อนยุค ตกแต่งสวยงามเข้ากับยุคสมัย อีกทั้งยังบ่งบอกถึงความเป็นไทยได้ดี คนส่วนใหญ่จึงนิยมนำกระเบื้องหลังคาคาดินเผาไปใช้ตกแต่งวัด ศาลา หรือเรือนไทยเป็นจำนวนมาก

  • กระเบื้องโปร่งแสง

กระเบื้องโปร่งแสง ผลิตมาจากใยแก้วและโพลีเอสเตอร์เรซิน เคลือบด้วยแผ่นฟิล์มพิเศษที่มีคุณสมบัติป้องกันรังสีจากแสงแดด แต่ในขณะเดียวกันก็โปร่งแสงช่วยให้พื้นที่ใช้งานสว่างไม่มืดทึบ

นอกจากนี้ กระเบื้องแบบโปร่งแสง ยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย หนาเพียง 1.2 มม. เท่านั้น เหมาะแก่การติดตั้งในโรงจอดรถ ชานนอกบ้าน และระเบียง เป็นต้น

  • ชิงเกิ้ล

ในสมัยก่อนหลังคาชิงเกิ้ล ทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ มันจึงไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ รั่วง่าย และไม่ทนไฟ ปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนวัสดุให้กลายเป็นไฟเบอร์เคลือบผิวด้วยยางมะตอย ทำให้แผ่นกระเบื้องดูมีมิติสวยงาม และมีอายุการใช้งานสูงถึง 40 ปี เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากในบ้านต่างประเทศ

  • เมทัลชีท

เมทัลชีท หรือหลังคาโลหะเคลือบ เป็นรูปแบบหลังคาที่พัฒนามาจากหลังคาสังกะสี ผ่านการผสมโลหะชนิดต่าง ๆ รวมถึงใช้วิธีการเคลือบและอบ เพื่อช่วยในการลดปัญหาการเกิดสนิม ลดการกัดกร่อน และช่วยสะท้อนความร้อนออกไปได้ดี เหมาะสำหรับบ้านแนวโมเดิร์นแบบประหยัดงบ หรือใช้ตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

  • กระเบื้องว่าว

ก่อนหน้านี้กระเบื้องว่าวผลิตขึ้นจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่อมน้ำ อมความชื้น และมีรูปร่างบิดเบี้ยว ภายหลังจึงมีการปรับปรุงวิธีการผลิต โดยใช้ซีเมนต์ และเครื่องจักรอัดไฮโดรลิคแรงสูง ตามด้วยการเคลือบมัน เพื่อป้องกันความชื้นแทรกซึมลงไปในกระเบื้อง

แต่ยังมีข้อเสียตรงที่รอยต่อระหว่างแผ่น อาจก่อเกิดปัญหาน้ำไหลย้อนได้ง่ายกว่ากระเบื้องชนิดอื่น ซึ่งควรตรวจสอบมาตราฐานให้ดีก่อนติดตั้ง อย่างไรก็ตาม กระเบื้องว่าว ยังเป็นอีกหนึ่งรูปแบบหลังคาที่เหมาะกับบ้านสไตล์โคโลเนียลเป็นอย่างยิ่ง

วิธีดูแลรักษากระเบื้องหลังคาให้ถูกวิธี

  • เดินสำรวจตรวจเช็คว่าการปูกระเบื้องบนหลังคาเป็นระเบียบเรียบร้อย การวางระยะห่างระหว่างกระเบื้องต้องเท่ากัน การปูกระเบื้องหลังคาที่ถูกต้อง จะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ หากมีกระเบื้องที่เหลื่อมทับซ้อนกัน หรือชำรุด ควรรีบแก้ไขโดยทันที เพราะอาจจะทำให้หลังคารั่ว หรือหล่นลงมาได้
  • กระเบื้องหลังคาต้องไม่มีรอยแตกร้าว รอยแตกร้าวบนแผ่น สามารถทำให้น้ำรั่วซึมลงมาได้ และถ้าทิ้งไว้นาน ๆ รอยร้าวอาจจะมีมากขึ้นจนแตก และหล่นลงมาได้
  • หากมีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้กับหลังคาบ้าน จะทำให้หล่นใส่กระเบื้องหลังคาแตกได้ ควรตัดแต่งกิ่งออกสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันกิ่งไม้หล่นใส่หลังคาบ้าน
  • ใต้ครอบมุมหลังคามักจะมีช่องว่างอยู่ ควรทำการอุดช่องว่างนี้ ด้วยปูน เพราะนก และแมลงบางชนิด สามารถเข้าไปทำรังในนั้นได้
  • ตรวจเช็กดูคราบสกปรก รอยด่างต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามกระเบื้อง หากมีคราบฝังแน่นเหล่านั้น ให้หาทางขจัดออกให้มากที่สุด หลังคาจะได้ดูใหม่ขึ้น
  • ลองขึ้นไปตรวจหลังคาด้านนอกด้วยความระมัดระวัง แล้วใช้สายตากวาดดูรอบ ๆ ว่ามีกระเบื้องหลังคาแผ่นไหนแตก เป็นรูรั่ว และอันไหนกระเบื้องหลังคาหายไปบ้าง จะได้จัดแจงซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ได้ตรงจุด
  • ระวังก้อนกรวดเล็ก ๆ จะเข้าไปอุดในท่อน้ำมากเกินไป จะเกิดปัญหาท่อระบายน้ำฝนอุดตันได้ อย่าลืมตรวจเช็กความเรียบร้อยของท่อน้ำ ไม่ให้มีเศษใบไม้ลงไปคาอยู่ได้
  • สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืม คือ การตรวจสอบที่ระบายน้ำ โดยต้องให้ท่อระบายน้ำกับหลังคาเชื่อมติดกันอย่างมั่นคงแข็งแรง เพื่อไม่ให้เกิดน้ำรั่วออกมานอกท่อ
  • อย่าเช็กหลังคาแค่เฉพาะส่วนที่คุณใช้เวลาตรงนั้นบ่อย ๆ ให้เช็กดูความเรียบร้อยของหลังคาตรงห้องน้ำ ห้องครัว และตรงช่องระบายอากาศให้เรียบร้อยด้วย เมื่อเจอข้อบกพร่องตรงไหนของหลังคา ให้รีบจัดการให้เรียบร้อย จะช่วยให้การดูแลหลังคาง่ายยิ่งขึ้น ไม่ควรรอจนกว่าจะถึงวันที่มีปัญหา จะทำให้การซ่อมหลังคาในวันนั้นยุ่งยากมากกว่าเดิม

เมื่อรู้จักกับ วัสดุมุงหลังคา กันดีแล้ว อย่าลืมเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับสไตล์บ้านของคุณด้วย รับรองว่า คุณจะได้ทั้งความสวยงาม และมีการใช้งานที่ถูกใจ และควรหมั่นดูแลรักษา หลังคาบ้าน เพื่อการใช้งานที่ยาวนานนั่นเอง 👍🏻

สามารถติดตามบทความต่าง ๆ ของ KACHA ได้ตามนี้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง :